ไกด์ไลน์ภาษาอังกฤษเพื่อคนประจำเรือ สอบ TOEIC และเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้วย SMCP

Seamoor Marine & Engineering

Seamoor Marine & Engineering

Table of Contents
    Add a header to begin generating the table of contents

    การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญต่อการติดต่อพูดคุยและสานสัมพันธ์มาโดยตลอด ยิ่งฝ่ายผู่ส่งสารและผู้รับสารพูดกันในภาษาเดียวกันได้อย่างเชี่ยวชาญมากขึ้นเท่าไร ก็เท่ากับเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน ทั้งยังเป็นการสร้างความประทับกันให้กันและกันมากขึ้นเท่านั้นอีกด้วย และสำหรับคนประจำเรือที่ตามธรรมชาติของงานแล้วต้องเดินทางไปหลายที่หลายแห่งทั้งในและต่างประเทศเป็นประจำอยู่แล้ว การสื่อสารยิ่งทวีความสำคัญขึ้นอีกหลายเท่าตัว

    แต่ใจเย็น ๆ กันก่อน พวกเราไม่จำเป็นต้องเริ่มยกนิ้วมือขึ้นมานับจำนวนภาษาที่ต้องหัดพูดหัดเรียนกันตามจำนวนประเทศที่ต้องเดินทางไป โชคดีที่ IMO ได้กำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง แถมยังเลือกใช้คำและข้อความที่พื้น ๆ จดจำและเข้าใจได้ง่าย ๆ ให้เอาไว้ใช้สำหรับสื่อสารกันระหว่างคนประจำเรือต่างชาติต่างภาษาแล้ว

     

    มาตรฐาน Standard Marine Communication Phrases (SMCP) จาก IMO

    จากการเก็บสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในท้องทะเล พบว่าสาเหตุสำคัญของการเกิดมากกว่าครึ่งของทั้งหมดมาจากการสื่อสารที่ไม่ดี เกิดความเข้าใจผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนในการสื่อสาร แม้ภาษาอังกฤษเป็นที่นิยมแพร่พลายสำหรับการพูดคุยกันในท้องทะเลมาตั้งแต่อดีตที่เรือจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาแล่นกันไปทุกน่านน้ำทั่วโลก แต่พอเวลาผ่านไป ได้มีผู้คนมากหน้าหลายตาก้าวเข้าสู่วิถีการเดินเรือมากขึ้น ซึ่งก็ด้วยเหตุผลด้านวัฒนธรรมและความหลากหลายของเชื้อชาติของผู้คนที่นำภาษาอังกฤษไปใช้นี่เอง เป็นเหตุให้มีการเลือกใช้คำและให้ความหมายที่ไม่ตรงกันเกิดขึ้น จุดนี้เองที่สร้างความเข้าใจที่ไม่ตรงกันให้เกิดขึ้นจนลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตและสร้างความเสียหาย

    เพื่อแก้ปัญหานี้และเพื่อความสะดวกในการใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้คนในอุตสาหกรรมทางทะเลในระหว่างการปฏิบัติงาน ได้มีการใช้ Controlled Natural Language (CNL) หรือภาษาที่ถูกกำหนดและมีการควบคุมการใช้คำหรือข้อความ โดยยึดเอาภาษาอังกฤษเป็นหลัก

    ระบบภาษา Seaspeak เกิดขึ้นจากพัฒนาคิดค้นร่วมกันของกลุ่มนักภาษาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการเดินเรือ แต่จะมีการนำคำจากภาษาอื่นมาใช้ร่วมด้วย หากว่าหาคำที่เหมาะสมในภาษาอังกฤษไม่ได้

    นอกจากนี้ยังมีระบบ Standard Marine Navigational Vocabulary (SMNV) ซึ่งถูกรวบรวมขึ้นให้คนประจำเรือได้ใช้งานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเดินเรือ ซึ่งมักมีความสับสนในเรื่องการระบุทิศทาง

    ต่อมา IMO ได้อัปเดตและรวมเอาทั้ง SMNV และ Seaspeak ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สร้างเป็นมาตรฐานใหม่ที่ชื่อว่า Standard Marine Communication Phrases (SMCP) ซึ่งได้มีการลงมติยอมรับในการประชุมครั้งที่ 22 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2001

    SMCP คือชุดของวลีสำคัญในภาษาอังกฤษ อันเป็นภาษากลางในระดับสากลของในการทำงานในทะเล เพื่อให้คนประจำเรือนำไปใช้สำหรับ

    1. เป็นวลีที่ใช้ในการติดต่อและสื่อสารภายนอกเรือ เช่น การสื่อสารระหว่างเรือกับเรือ และจากเรือกับฝั่ง
    2. เป็นวลีที่ใช้สื่อสารระหว่างคนประจำเรือบนเรือ

    จุดมุ่งหมายสำคัญในการกำหนด SMCP ขึ้นมาคือต้องการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุอันมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับภาษาและการสื่อสารที่ผิดพลาด ซึ่งการพัฒนาชุดมาตรฐานนี้ได้คำนึงถึงสภาพแวดล้มของการเดินเรือยุคสมัยใหม่และครอบคลุมการสื่อสารด้วยคำพูดเพื่อความปลอดภัยในทุกมิติ

     

    การสอบ TOEIC วัดการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ดีในการทำงาน

    การสอบ Test of English for International Communication หรือ TOEIC หรือ ‘โทอิก’ คือการสอบที่เพื่อวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษโดยทั่วไป เหมาะกับผู้ที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมการทำงาน เพราะองค์กรหรือบริษัททั่วไปที่ต้องติดต่อการงานกับบริษัทลูกค้าต่างชาติมักระบุว่าต้องมีคะแนนสอบ TOEIC แนบยื่นพร้อมเอกสารการสมัครเข้าทำงาน

    คนประจำเรืออย่างเรา ๆ หากพิจารณาดูจากธรรมชาติของอาชีพแล้ว ควรไปสอบเอาคะแนนตัวนี้ไว้อย่างเลี่ยงไม่ได้เลยทีเดียว

    ข้อสอบ TOEIC (อัปเดตปี 2021) มีอยู่ 2 แบบคือ

    • TOEIC Listening and Reading Test (การฟังและการอ่าน)
    • TOEIC Speaking and Writing Test (การพูดและการฟัง)

    โดยการสอบรูปแบบแรกเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับ โดยในประเทศไทยก็มีเปิดให้สอบเฉพาะรูปแบบดังกล่าว
    ทักษะการฟังและการอ่านถือว่าง่ายกว่าหากเทียบกับอีกสองทักษะที่เหลือ และนับว่าเพียงพอต่อการใช้งานจริงแม้จะเป็นทักษะการรับสารก็ตาม เพราะในการติดต่อสื่อสารในโลกจริง เราควรเข้าใจคำพูด ข้อความ หรือสารที่ฝ่ายส่งสารสื่อออกมาให้ถูกต้องเสียก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นค่อยโต้ตอบกลับไป

    ข้อสอบ Listening and Reading Test แบ่งเป็นสองส่วนอย่างละ 100 ข้อ รวมทั้งหมด 200 ข้อ เกณฑ์น้ำหนักคะแนนแบ่งเป็นอย่างละครึ่งเท่า ๆ กัน แต่ให้เวลาทำไม่เท่ากัน โดยให้เวลา 45 นาทีสำหรับส่วนการฟังและ 75 นาทีสำหรับส่วนการอ่าน ซึ่งรวมแล้วใช้เวลาสอบเต็ม 2 ชั่วโมงพอดิบพอดี รวมคะแนนทั้งหมด 990 คะแนน

    ส่วนคะแนนเท่าไรเทียบได้เป็นระดับใด ให้ดูเทียบที่ตารางนี้เลย

    score-level-toeic

    ผลคะแนน TOEIC จะมีอายุ 2 ปี นับจากวันสอบ

     

    สำหรับสถานที่สมัครสอบ TOEIC ในปัจจุบัน (ปี 2021) ประเทศไทยมีศูนย์อย่างเป็นทางการแห่งเดียวคือที่ Center for Professional Assessment (Thailand) ซึ่งได้มีศูนย์สอบหลัก 2 แห่งคือ

    • ศูนย์สอบกรุงเทพ: Center for Professional Assessment (Thailand) Suite 1907, BB Building ชั้น 19 เลขที่ 54 ถนนอโศก สุขุมวิท 21 โทร 0-2260-7061, 0-2259-3990
    • ศูนย์สอบเชียงใหม่: Center for Professional Assessment (Thailand) อาคารนวรัตน์ ชั้น 3 ถนนแก้วนวรัตน์ ซอย 3 โทร 053-241273

    เปิดให้มีการสอบได้ทุกวันจันทร์-เสาร์ (เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) วันละ 2 รอบคือ รอบเช้าเวลา 09.00 น. และรอบบ่ายเวลา 13.00 น. โดยผู้ที่สนใจสอบต้องสำรองสิทธิ์การสอบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน

    นอกจากนี้ ยังมีทางเลือกสำหรับผู้ที่พักอาศัยอยู่แถบอีสานคือที่ศูนย์จัดสอบย่อยมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โทร.043-202239 หรือที่เว็บไซต์ TOEIC by HUSO KKU 

    โดยค่าสมัครสอบสนนราคาที่ 1,800 บาท แต่คนที่เลือกไปสอบที่ศูนย์สอบย่อยให้ลองเช็กค่าสมัครตามช่องทางที่ได้ให้ไว้

     

    อัปเลเวลความเป็นมืออาชีพด้วยใบเซอร์ SMCP – สิ่งจำเป็นของคนประจำเรือภายใต้ STCW

    คนประจำเรือที่มีหน้าที่รับผิดชอบในตำแหน่งการนำเรือ (navigational watch) บนเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไปต้องมีความรู้ความเข้าใจดีเพียงพอและใช้ภาษา SMCP ในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี ซึ่งตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม การรับรองคุณสมบัติคนประจำเรือ และการเข้ายามของคนประจาเรือ (STCW) แล้ว จะต้องมีประกาศณียบัตร (certification) รองรับการผ่านคุณสมบัติข้อนี้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัยในด้านการเดินเรือและการปฏิบัติงานต่าง ๆ ยามอยู่กลางท้องทะเล

    และถึงแม้คนประจำเรือบางเชื้อชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารเป็นประจำอยู่แล้วตั้งแต่เกิด ยังไงก็ต้องมาเรียนรู้คำศัพท์เฉพาะทางที่ใช้กันในเฉพาะอุตสาหกรรมการเดินเรือเพิ่มเติม และต้องสอบเอาใบเซอร์ภาษาอังกฤษตัวนี้อยู่ดีเพื่อการันตีว่ามีความรู้ได้ระดับมาตรฐานของ IMO

    ณ ปัจจุบัน ผู้ที่มีบริการเทรนนิงและให้การทดสอบภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมการเดินเรือที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมีอยู่สองที่คือ Marlins และ MarTEL โดย Marlins น่าจะสะดวกกับคนประจำเรือชาวไทยอย่างเรา ๆ หน่อยเพราะมีศูนย์สอบอยู่ในไทยด้วย ส่วนฝั่ง MarTEL จะเหมาะกับคนที่อยู่แถบยุโรปมากกว่า

     

    Photo by David Travis on Unsplash

     

    เทคนิคการเตรียมตัวสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ

    ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย ต้องยอมรับว่าคนไทยเรามีปัญหาเรื่องภาษาอังกฤษเสมอ จากที่ตั้งข้อสังเกต น่าจะเป็นเพราะความตื่นเต้นและความเขินส่วนตัวมากกว่า ตื่นเต้นที่ต้องฟังและพูดโต้ตอบด้วยภาษาอังกฤษ และเขินที่ต้องพูดด้วยสำเนียงของตัวเราเอง ซึ่งจะว่ากันตามจริงแล้ว ความเขินที่เรากังวลนั้น คู่สนทนาเขาไม่ได้กังวลไปกับเราด้วย

    ในการสนทนาจริงนั้น ทั้งฝ่ายคนพูดและคนฟังจะสนใจเรื่องความเข้าใจและสารที่ต้องการสื่อมากกว่าเรื่องสำเนียงอันสวยงาม และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟังไม่ทันหรือไม่เข้าใจ ก็สามารถขอให้อีกฝ่ายพูดซ้ำ พูดช้ากว่าเดิม หรือกระทั่งอธิบายด้วยคำอื่นจนกว่าจะเกิดความเข้าใจ

    ทีนี้ปัญหาก็อยู่ที่การรับสารหรือการฟังส่วนบุคคลแล้วล่ะ

    มันก็พอจะมีวิธีแก้ไขอยู่บ้างง่าย ๆ อยู่บ้าง ถ้าดีที่สุดคงต้องเลือกหาเพื่อนที่พูดอังกฤษมาช่วยพูดและโต้ตอบกับเราเลย แต่ถ้าอยากได้ความเป็นส่วนตัวแล้ว ขอแนะนำว่าให้เลือกการดูหนังการ์ตูน soundtrack เน้นว่าต้องเป็นหนังการ์ตูนสำหรับเด็กเลย เพราะว่าความเร็วที่ตัวละครพูดนั้นจะช้าและเป็นประโยคที่ค่อนข้างง่าย ซึ่งจุดประสงค์ของการ์ตูนคือทำให้เด็กดูและเข้าใจ เด็กที่เพิ่งหัดพูดหัดฟังใหม่ ๆ ก็ไม่ต่างจากเราที่เพิ่งมาเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งต่างก็มีปัญหาเดียวกันคือไม่ชินและต้องฝึกฟังพูด แต่เด็กเขาไม่อายที่จะลองฟังและหัดพูดตาม

    ส่วนการอ่าน อันนี้ต้องใช้ความพยายามเยอะหน่อย คืออย่างน้อยเราต้องมีเข้าใจโครงสร้างหรือไวยกรณ์ภาษาระดับพื้นฐานสักหน่อย อย่างน้อยต้องแยกส่วนประธาน กริยา และกรรมของประโยคได้ ดังนั้น คนที่ไม่มีพื้นฐานใด ๆ เลย แนะนำให้เรียนดีกว่าอ่านเอง ส่วนคนพี่พื้นฐานอยู่แล้วต้องหัดใช้ นั่นคือหัดอ่านและจับใจความ ซึ่งส่วนนี้ไม่ต้องเริ่มจากหนังสือเด็ก เริ่มมันที่บทความทั่วไปได้เลย เลือกมาสักหนึ่งย่อหน้า แล้วลุย เพราะตอนฝึก เราเปิดดิกชันนารีได้ และการอ่านบทความจริงจะสร้างความคุ้นเคยกับภาษาในโลกจริงได้มากกว่า ช่วยเราลดอาการตื่นเต้นตอนที่ต้องทำข้อสอบไปได้

    สุดท้ายนี้ ภาษาเป็นเรื่องของความคุ้นเคยและเคยชิน เราพยายามสร้างสถานการณ์ให้ตัวเราได้ใช้บ่อย ๆ ก็เหมือนเป็นการเก็บประสบการณ์ที่ดี
     

    ขอขอบคุณเเหล่งที่มา
    Tags :

    Share:

    Facebook
    Twitter
    LinkedIn
    Telegram

    Leave a Reply

    Your email address will not be published. Required fields are marked *