นายช่างกลที่ 4 บันไดขั้นแรกสู่การเป็นต้นกลเรือ

Fourth Engineer

สวัสดีครับแฟนคลับ Seamoor blog ทุกท่าน ปีใหม่ไปเที่ยวที่ไหนกันมาบ้างครับ คนประจำเรือที่อยู่บนเรือน่าจะได้ฉลองกันบนเรือเล็ก ๆ น้อย ๆ ถ้าอยู่บนเรือบรรทุกสินค้าก็พอได้ แต่ถ้าอยู่พวกเรือบรรทุกน้ำมันซึ่งกำหนดไม่ให้มีเหล้าเบียร์บนเรือก็จะกินข้าวกันแบบหงอย ๆ กันหน่อย ก็แหม! คนประจำเรืออ่ะนะครับ จะให้แยกกับเรื่องพวกนี้ก็ยาก ขอนิดๆ หน่อยๆ พอเป็นกระสาย… จะว่าไปเทศกาลกับคนประจำเรือนี่ ลืมไปกันได้เลยนะครับ สมัยก่อนที่ผมลงทำงานในเรือใหม่ ๆ ก็จะเป็นจะตายเหมือนกันถ้าเวลาปีใหม่หรือสงกรานต์แล้วไม่ได้อยู่บ้านกับครอบครัว แต่พออยู่ ๆ ไปก็เริ่มชินชา และไม่ค่อยอะไรกับเทศกาลอีกสักเท่าไหร่ เพราะยังไงก็ต้องทำงาน ชีวิตต้องเดินต่อครับ ก่อนไปอ่านเรื่องราวของคนประจำเรือคนต่อไปของเรา ผมขออนุญาตแสดงความไว้อาลัยต่อการจากไปของกำลังพลบนเรือหลวงสุโขทัยหลายท่านที่จากไปอย่างไม่มีวันกลับ มันเป็นความสูญเสียเรือรบลำที่ 4 ของกองทัพเรือไทย แต่เป็นครั้งแรกที่เรือรบไทยต้องจมลงด้วยเหตุอื่นที่ไม่ใช่การทำศึกสงคราม ในฐานะที่อยู่เรือมานาน เห็นแล้วเศร้าครับ ผมว่าเราไม่จำเป็นต้องสูญเสียอะไรมากมายขนาดนั้น ความไม่พร้อมในการรับมือต่อสถานการณ์ฉุกเฉินของเรือและลูกเรือ ตลอดจนการตัดสินใจที่ผิดพลาดของผู้บังคับบัญชา ทั้งก่อนเกิดเหตุและในระหว่างเกิดเหตุ มีส่วนในการทำให้เกิดความสูญเสียในครั้งนี้ครับ ตั้งแต่การออกเรือในสภาพอากาศไม่เหมาะสม ความคงทนทะเลของเรือ มาตรการความปลอดภัยบนเรือ การตัดสินใจของผู้บังคับบัญชา และสั่งการสละเรือใหญ่ที่ค่อนข้างช้าโดยคำนึงถึงสิ่งของและหน้าตามากกว่าชีวิตคน ทั้งหมดนี้เป็นบทเรียนที่สำคัญที่คนประจำเรือไทยทุกท่านต้องให้ความสำคัญ ถอดบทเรียนความผิดพลาดเพื่อเอามาป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมแบบนี้เกิดขึ้นอีก และถ้าคุณเป็นคนประจำเรือ ลองหาโอกาสถามตัวเองบ้างนะครับว่า ถ้าเป็นเรา เราจะทำอย่างไรให้รอดในทะเลในสภาพคลื่นลมแบบนั้น จริง […]