ปฐมพงศ์ ทองแก้ว ต้นกลประจำเรือ AHTS ผู้ดูแลฝ่ายห้องเครื่องประจำเรือ

Seamoor Marine & Engineering

Seamoor Marine & Engineering

Patompong Tongkaew Chief Engineer
Table of Contents
    Add a header to begin generating the table of contents

    เราขอนัดคุยกับพี่ปฐมพงศ์ ทองแก้ว ต้นกลประจำเรือ MV TC Dragon ได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

    ด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งต้นกลที่มีศักดิ์ศรีแทบจะเท่ากับกัปตัน กว่าพี่ปฐมพงศ์จะจัดเวลาให้เราได้ ก็ต้องเคลียร์และจัดการงานอยู่พักใหญ่เลยทีเดียว

    พี่ปฐมพงศ์ประจำการอยู่บนเรือประเภท Anchor Handling Tug Supply (AHTS) ซึ่งเอาไว้ใช้สำหรับจัดการสมอและลากจูงแท่นขุดเจาะน้ำมัน หรือเรืออื่น ในบางครั้งก็อาจทำหน้าที่ค้นหาและกู้ภัยฉุกเฉิน รวมถึงขนส่งเสบียงต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน

    เราขอใช้เวลาอันทีค่าที่พี่เขาใจดีมอบให้ ยิงคำถามตรงประเด็นเพื่อให้แบ่งปันประสบการณ์และหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งต้นกลประจำเรือ AHTS กันเลย
     

    มาลงเรือ MV TC Dragon ได้อย่างไร?

    ผมมักตามข่าวสารของบริษัทจากพี่ ๆ เพื่อน ๆ และทางเว็บไซต์ของบริษัท Seamoor Marine อยู่เสมอ เมื่อทราบว่าทางบริษัทเปิดรับสมัคร ผมจึงรีบส่งใบสมัครทันทีเลยครับ ผมมองว่า Seamoor เป็นบริษัทของคนรุ่นใหม่ ข่าวไวทันใจ และคนมีความสามารถส่วนใหญ่ก็เลือกมาทำงานที่นี่ครับ
     

    การเตรียมตัวก่อนลงเรือ

    ปกติแล้ว คนที่เป็นคนประจำเรือจำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพและใบประกาศรับรองความรู้ความสามารถในแต่ละหลักสูตรตามที่กรมเจ้าท่าได้กำหนดไว้ในแต่ละตำแหน่งหน้าที่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

    ตำแหน่งต้นกลของผมจะใช้เอกสารคือใบประกาศวิชาชีพต้นกลเรือเดินทะเลและใบรับรองการอบรม

    ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน การอบรมต่ออายุใบประกาศของแต่ละหลักสูตร (Refresh) ของคนประจำเรือทำได้ยาก แต่ทางกรมเจ้าท่าอนุญาตให้ดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ได้ ก็ดีหน่อยครับที่ทำให้เราทำงานต่อไปได้
     

    ความรับผิดชอบของตำแหน่งต้นกล

    ผมปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเวลา 08.00 – 18.00 น. ทุกวัน แต่หากมีงานนอกเหนือเวลางาน คือมีเครื่องจักรบางอย่างชำรุด ก็ต้องทำงานล่วงเวลาจนกว่าเครื่องจักรจะกลับมาทำงานได้ครับ

    หน้าที่หลักคือดูแลรับผิดชอบการทำงานของห้องเครื่องไม่ว่าจะเป็นด้าน Document, PMS, Spare part, Report, Training ฯลฯ รวมไปถึงการดูแลความเป็นอยู่ของน้อง ๆ ในห้องเครื่อง คอยเป็นที่ปรึกษาให้ด้วยครับ เนื่องจากน้อง ๆ ในห้องเครื่องบนเรือที่ทำงานอยู่เป็นคนเวียดนามทั้งหมด จึงต้องมีการปรับตัวในการสื่อสารและเรียนรู้วัฒนธรรม ลักษณะการทำงานให้สอดคล้องกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดครับ
     

    การดูแลความปลอดภัยบนเรือเป็นอย่างไร?

    ทางบริษัทเดินเรือมีตั้งมาตรฐานความปลอดภัยเอาไว้สูงมากครับ จะมีการตรวจสอบ ฝึกฝน ทบทวนความรู้ความชำนาญอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าในสถานการณ์ฉุกเฉินคนเรือสามารถปฏิบัติตามที่ได้รับการฝึกฝนไว้อย่างเคร่งครัดและถูกต้อง และในระหว่างปฏิบัติงานประจำวันก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง (Safety First)

    ผมก็ใส่ใจตรงจุดนี้เสมอ เน้นย้ำกับทั้งตัวเองและน้อง ๆ เพราะถึงแม้มันจะดูมีขั้นตอนเยอะหน่อย แต่ไม่เราไม่เสี่ยงกับเหตุไม่คาดคิดใดเลยดีกว่าครับ และก็เพื่อให้เกิดความปลอดภัยขั้นสูงสุดครับ

    สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณกัปตันกฤชและบริษัท Seamoor Marine and Engineering ที่ได้มอบโอกาสและให้ความไว้วางใจคัดเลือกผมมาปฏิบัติงานบนเรือต่างชาติลำนี้ ทำให้ได้เจอพี่ ๆ เพื่อน ๆ ที่น่ารักที่เปรียบเสมือนครอบครัวที่อบอุ่น

    ขอบคุณครับ

    Tags :